เว็บไกด์อุบนดอทคอมกล่าวถึงอุโบสถหลังเก่าว่า...
ลักษณะของสิมวัดหลวงมีแปลนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสิมวัดต่าง ๆ ในเมืองอุบลราชธานี แต่รูปคล้าย ๆ กัน คือฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นมาทำเป็นเฉลียง ตัวอาคารและฐานถือปูน เสาด้านหน้าสิม ๔ ต้น เป็นเสาเหลี่ยมลบมุม หัวเสาทำเป็นรูปบัวจลกล ทวยไม้แกะสลักแบบหูช้างหน้าบันกรุไม้ลูกฟักหน้าพรหมสาหร่ายรวงผึ้งแบบพื้นบ้านอีสาน (อิทธิพลล้านช้าง) หลังคาชั้นเดียวทรงจั่ว ไม่มีชั้นลด มีปีกนก (พะไร) ทางด้านข้างใช้เป็นแป้นมุงไม้หน้าจั่ว ตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง (รายระกามอญ)น่าเสียดายที่ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว อุโบสถหลังใหม่นั้นไม่มีอะไรน่าสนใจ...ผมเดินผ่านซุ้มประตูเข้าไปสำรวจ
ลักษณะของสิมวัดหลวง มีคนเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานีกล่าวว่าสวยงามมากคล้ายกับวัดเชียงทองของเมืองหลวงพระบางของล้านช้าง หากสิมวัดหลวงหลังนี้ไม่ถูกรื้อไปก็คงจะมีโบราณสถานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานี ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง...
หันกลับไปถ่ายภาพซุ้มประตูไว้อีก ๑ บาน...
ใบเสมากำหนดเขตพุทธาวาสดูเรียบง่าย...
มีเสาสูงและบันไดนาคเจ็ดเศียรคล้ายกับโบสถ์ในวัดเขมร...
ประตูใหญ่ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง...
หน้าต่างด้านข้างและซุ้มดูงดงาม...
ด้านหลัง...ผมต้องแหงนหน้าขึ้นดู
รั้วด้านหลังมีซุ้มประตู ถ้าเข้าใจไม่ผิดนั่นคงจะเป็นพระพิฆเนศ ๔ กร เป็นการผสมผสานระหว่างฮินดูกับพุทธหรือเปล่า?
ไม่เข้าใจความคิดผู้ออกแบบ! เฮ้อ...ไปดีฝ่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น