วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

บ้านหนองหล่ม

"ตำบลหนองหล่ม" มีพื้นที่ประมาณ ๕๐,๐๘๘.๑๒๕ ไร่ อยู่ห่างจาก Hangchat  Backpacker Hostel (*) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน...


ตำบลหนองหล่มแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๘ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๑ บ้านป่าไคร้, หมู่ ๒ บ้านล้อง, หมู่ ๓ บ้านหลิ่งก้าน, หมู่ ๔ บ้านแม่ยิ่ง, หมู่ ๕ บ้านหนองหล่ม, หมู่ ๖ บ้านทุ่งหนองขาม, หมู่ ๗ บ้านหัวทุ่ง และ หมู่ ๘ บ้านง้าวพิชัย
บ้านหนองหล่ม หมู่ ๕ เดิมมีหนองน้ำแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน มีแม่หม้ายคนหนึ่งมาปลูกบ้านอยู่กลางหนอง วันหนึ่งอยากกินปลา ไปช้อนปลาในหนองได้ปลาไหลเผือกมา ๑ ตัว พอเอามาต้มกิน เกิดอาเพศบ้านล้มลงกลางหนอง หลังจากนั้นก็เล่าขานกันมาว่าเป็นบ้านหนองหล่ม และตั้งเป็นตำบลหนองหล่มจนถึงปัจจุบัน 
(ที่มา - เว็บไทยตำบล)
คนบ้านขามแดงอยากชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยวบ้านหนองหล่มด้วยกันครับ... 


เก็บภาพบรรยากาศสองข้างทางไว้หน่อย...






เจอหนองหล่มแล้วครับ...







บ้านแม่หม้ายต้มปลาไหลเผือกอยู่ตรงไหนน้า?

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

อุโบสถวัดบ้านต้า จังหวัดลำปาง


ด้านหลังอุโบสถวัดบ้านต้า ผมเห็นใบสีมาตั้งอยู่บนแท่นปูน ดูเรียบง่ายและเก่าแก่!



เช่นเดียวกับที่ตั้งอยู่ด้านข้าง...



ผมเดินชมรอบ ๆ...


 

บางครั้งก็ต้องแหงนหน้ายกกล้องขึ้นเก็บภาพ...



.

โชคดีที่ประตูเปิดอยู่...จึงได้ดูข้างใน!







นำภาพในอุโบสถมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...


















ใครมาเที่ยวลำปาง อย่าลืมวัดบ้านต้านะครับ!

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562

วัดบ้านต้า ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง

วัดบ้านต้า สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๗ หมู่ ๑๐ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง


 

จากวัดหมอสม (1) เดินทางไม่ถึง ๑ กิโลเมตร ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำวังแล้วเลี้ยวขวาก็ถึงวัดบ้านต้า (2) ซึ่งตั้งอยู่ตรงมุมถนนด้านขวามือ...





ผมเห็นภาพวิหาร (5) และเจดีย์ (4) ภายในรั้ววัด...แต้มด้วยสีสดสวยของไม้ประดับ



ซุ้มประตู (3) ค่อนข้างใหญ่ ประดับด้วยกระจกสะท้อนแสง...



ที่ฐานซุ้มประตูมีรูปตัวมอม* อยู่ข้างละตัว...

* ตัวมอมเป็นสัตว์ในตำนาน เป็นพาหนะของเทพปัชชุนนะเทวบุตร เทพเจ้าแห่งฝนในคติล้านนา ตัวมอมมีรูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโต หรือราชสีห์ผสมมังกร บางครั้งก็ปั้นให้ดูคล้ายตุ๊กแก กิ้งก่า หรือค่าง (ที่มา - วิกิพีเดีย)



เดินเก็บภาพในบริเวณวัดก่อนนะครับ...
 
 
 
  

ผมว่าหอระฆังดูแปลกตานะ...




พระเจดีย์สีทอง (4) ตั้งอยู่หลังโบสถ์ (5) ตรงตามรูปแบบวัดในล้านนาส่วนใหญ่ ผมเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...

   









นอกจากใบสีมาแล้ว อุโบสถวัดบ้านต้ามีกังหันตั้งรวมอยู่ด้วย...



นับเป็นความแตกต่างที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก!