วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567

อุโบสถวัดปราสาท จ.เชียงใหม่

อุโบสถวัดปราสาท (4) แต่เดิมไม่ทราบว่ามีรูปทรงอย่างไร รู้แต่ว่าได้รับการบูรณะตั้งแต่สมัยพระยาหลวงสามล้าน...


ต่อมา พ.ศ. 2520 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกโดยท่านเจ้าอาวาส พระครูชินวงศานุวัตร์ สิ้นทุนทรัพย์ประมาณ 550,000 บาท ด้วยฝีมือช่างชั้นครูทำให้อุโบสถยังคงความงามตามรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา มาตราบเท่าทุกวันนี้

ภาพจากหนังสือ "วัดปราสาท และ บันทึกพระยาหลวงสามล้าน" มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2528

ภาพจากหนังสือ "วัดปราสาท และ บันทึกพระยาหลวงสามล้าน" มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2528

 

บันไดมกรคายนาคนำทางขึ้นสู่มุขหน้า...

 

  

ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์แลหน้าบันงดงามยิ่ง...



 

ด้านหน้ามี 1 ประตูเข้าโบสถ์

 

หลังคาลดชั้น 2 ระดับ...
 
 

ด้านข้างมี 3 หน้าต่าง...พร้อมซุ้มงดงามลวดลายวิจิตร...
 



ผนังด้านหลังเรียบง่าย มี 1 ประตูอยู่ด้านข้าง...
 


กล่าวว่าภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย สูง 114 เซนติเมตร มีจารึกที่ฐานว่าปี พ.ศ. 2133

ภาพจากหนังสือ "วัดปราสาท และ บันทึกพระยาหลวงสามล้าน" มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2528

เสียดายไม่ได้เห็นภายในอุโบสถ...

พระเจดีย์วัดปราสาท จ.เชียงใหม่

ระเจดีย์วัดปราสาท (3) เป็นศิลปะที่ผสมผสานผสมระหว่างเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมศรีสัชนาลัยกับเจดีย์ทรงกลมของเมืองเชียงใหม่...

จากหลักฐานบันทึกของพระยาหลวงสามล้าน ปรากฏว่าท่านเป็นประธานในการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2366 ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2526

 

 

เจดีย์ตั้งอยู่หลังอุโบสถ คั่นด้วยกำแพงอิฐเก่าแก่ เว้นระยะเพียงเล็กน้อย...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


ของดีที่วัดปราสาทอนุรักษ์ไว้ได้เช่นนี้ ตาแก่เมืองรถม้าเห็นแล้วรู้สึกยินดีเป็นยิ่งนัก

วิหารเก่าวัดปราสาท จ.เชียงใหม่

บราณสถานสำคัญของวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่ คือวิหารเก่าแก่ศิลปะล้านนา
 
 
 
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 167 ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2522
 
 
 

วิกิพีเดียกล่าวว่า...
วิหารศิลปะล้านนา มีฐานรากเป็นก่ออิฐถือปูน ตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก มีเสาพระวิหารเรียงรายภายในเป็นเสากลมลงรักปิดทองเพื่อทำหน้าที่รับขื่อประธานและขื่อคัดเสาทุกด้าน ในวิหารมีซุ้มโขงขนาดใหญ่ประดิษฐานพระประธาน ซุ้มโขงมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปหงส์คู่ตั้งอยู่ด้านข้าง มีพญานาคขมวดเป็นหางวน ขดเป็นลวดลายกระหนกขึ้นด้านบนและมีรูปลายกนกเป็นแบบลวดลายพระจันทร์แผ่กระจายรัศมีอยู่ตรงกลาง...
ภาพจากวิกิพีเดีย - ขอขอบคุณ

ภาพจากวิกิพีเดีย - ขอขอบคุณ


ลักษณะและองค์ประกอบของวิหาร
วิหารวัดปราสาท เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ยกพื้นสูง ผนังของวิหารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน
และผนังไม้ ผนังห้องแรกสุดก่ออิฐฉาบปูนทึบ ห้องที่ 2-5 ด้านล่างเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนจนถึงท้องหน้าต่างด้านบนเป็นผนังลูกฟักไม้ ตรงกึ่งกลางผนังจะมีหน้าต่างบานเปิดประดับด้วยไม้กลึงเป็นซี่ ห้องที่ 6 เป็นผนังทึบไม่มีการตกแต่ง ผนังด้านหลังปิดทึบจนถึงบริเวณท้องคานของหน้าบันซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนปราสาท รูปทรงหลังคา เป็นหลังคาทรงจั่วสูง หลังคาลาดเอียง คลุมตํ่า มีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น ลักษณะหลังคาโค้งเล็กน้อย วัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินขอ ปั้นลมเป็นรูปนาคตรง
โครงสร้างวิหาร
โครงสร้างวิหารเป็นโครงสร้างเสาและคาน มีผนังปิดล้อมโดยรอบ ส่วนฐานรากก่ออิฐฉาบ
ปูน ผนังมีสองรูปแบบคือผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังไม้ โครงสร้างหลังคา เป็นโครงสร้างไม้แบบม้าต่างไหม เสาทั้งหมดเป็นเสาไม้ เสาคู่หน้าเป็นเสาแปดเหลี่ยม เสากลางเป็นเสาไม้กลมจะทําหน้าที่รับขื่อหลวง เป็นลักษณะขื่อคู่ โดยขื่อตัวล่างใช้สําหรับการตกแต่งและช่วยรับนํ้าหนัก ขื่อตัวบนจะตั้งเสาตุ๊กตาขึ้นไปรับขื่อชั้นที่สองและลักษณะเดียวกันในชั้นมาสามตามลําดับ ส่วนโครงสร้างหลังคาตับที่สอง ก็เช่นเดียวกับโครงสร้างหลังคาหลัก แต่จะเพิ่มเสาสะโก๋นแนบเสากลาง ตั้งขึ้นไปรับแปและแผงคอสองด้านบน แต่ละช่วงของการซ้อนชั้นจะมีการเสริมความแข็งแรงโดยทําลักษณะขื่อคู่เช่นเดียวกับหลังคาตับบน โดยมีเสารอบอาคารเป็นเสาไม้สี่เหลี่ยมรับโครงสร้างหลังคาส่วนนี้
การประดับตกแต่ง
ส่วนประดับที่สําคัญคือด้านหน้าของวิหารตกแต่งด้วยปูนปั้นติดรักกระแหนะ ปิดทอง
และประดับด้วยกระจกสี ซึ่งเป็นการประดับลวดลายโดยใช้พื้นที่ว่างภายในกรอบของโครงสร้างหลังคาจึงมองเห็นโครงสร้างม้าต่างไหมได้อย่างชัดเจน หูช้างมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเช่น รูปกินรี หนุมาน นาค ทั้งหมดอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยมและมีลายเครือเถาประกอบอยู่ด้วย
* ที่มา - วิทยานิพนธ์ของนายพันธ์ศักดิ์ ภักดี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2544





 
ฃออภัยแฟลชเสีย ภายในวิหารมืดเกินกว่าที่จะเก็บรายละเอียดภายในได้



สัญญาว่าจะกลับมาเก็บภาพฝากเพื่อน ๆ อีกครั้ง

วัดปราสาท ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

 
วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ 4/2 ถนนอินทรวโรรส ซอย 3 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

thai.tourismthailand.org กล่าวว่า...

วัดปราสาทเป็นวัดที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม สร้างขึ้นโดยฝีมือเชิงช่างชั้นสูง ตามหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกของวัดตะโปธารามได้จารึกไว้ว่า วัดปราสาทมีมาตั้งแต่ครั้งที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อปี พ.ศ. 2035 ในสมัยที่พระยายอดเชียงราย ครองเมืองเชียงใหม่ และด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ประทับของเจ้านายและฝ่ายขุนนาง จึงได้รับการทำนุบำรุงสืบต่อกันมา แม้กระทั่งในสมัยที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า พระยาหลวงแสนคำก็ยังได้หล่อพระเจ้าหมื่นทอง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยถวายไว้ที่วัดปราสาทในปี พ.ศ. 2133 และได้จารึกข้อความไว้ที่ฐานพระองค์นี้ด้วย ต่อมาในสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา เมื่อปี พ.ศ. 2366 ได้มีการบูรณะวัดปราสาทและสร้างพระวิหารขึ้นมา

รั้ววัดดูก็รู้ว่าเก่าแก่จริง มีต้นไผ่ขึ้นเป็นกำแพงธรรมชาติ...

 

 
ผมตั้งจักรยานไว้ตรงทางเข้า ฝากท่านสิงห์ซึ่งนั่งอยู่บนแท่น แล้วเดินเข้าไปเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ 

 
ต้นโพธิ์สูงใหญ่แสดงให้เห็นความเก่าแก่ของวัด...


หอระฆังสร้างใหม่ดูสวยมาก...



 
ศาลาพระอุปคุตทรงแปดเหลี่ยม เป็นที่ประดิษฐานพระอุปคุต สร้างขึ้นไม่นานมานี้...



เจอเจ้าฟูลซัสเสือภูเขา อยากให้ Banian มาทักทายจังเลย...


 
 
วัดปราสาทอายุกว่า 500 ปี โชคดีที่ได้มาเห็น! 

วัดดับภัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

 
วัดดับภัย สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 29 ถนนสิงหราช ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่...
 

templeofchiangmai.weebly.com กล่าวว่า...
วัดดับภัยเดิมชื่อว่า “วัดตุงกระด้าง” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๐ ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย ตามตำนานเล่าว่า มีขุนนางคนหนึ่งชื่อว่า “พระยาอภัย” เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาองค์หนึ่ง ชื่อว่า “พระเจ้าดับภัย” เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำครอบครัว ประดิษฐานเอาไว้ในห้องนอนของตน ไม่ว่าจะไปที่ใดก็จะนำพระเจ้าดับภัยไปด้วยเสมอ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง และบริวาร
เมื่อพระยาอภัยล้มป่วยลง ไม่มีหมอคนไหนรักษาได้ ท่านอธิษฐานขอพรต่อพระเจ้าดับภัยให้ตนหาย ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจ้าดับภัย อาการป่วยของท่านค่อย ๆ ทุเลาลง จนหายขาดในที่สุด พระยาอภัยย้ายมาปลูกเรือนใกล้กับวัดตุงกระด้าง พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้มีสภาพที่ดีขึ้น แล้วอัญเชิญพระเจ้าดับภัยมาประดิษฐานที่วัดตุงกระด้าง พระอารามแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามใหม่ว่า “วัดดับภัย” จนถึงทุกวันนี้


 
 
ตาแก่เมืองรถม้าบอกให้เจ้า Banian รออยู่ แล้วออกเดินเก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ



เริ่มต้นที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (Holy Well) (1)

 
 
 

วิหารพระเจ้าทันใจ
ตั้งอยู่ข้างวิหารหลวง (2)

 


 

 
 
 
 
หอระฆัง...



ลำต้นโพธิ์สวยงาม...


ภายในวัดมีโรงเรียนตั้งอยู่ ชื่อว่า "โรงเรียนอภัยอริยศึกษา"...

 




กุฏิสงฆ์อยู่ใกล้ ๆ กับพระเจดีย์...

 
ติดกับประตูหลังวัด...


ออกไปยังถนนสิงหราช ซอย 3 ครับผม!