
อุโบสถวัดสะปุ๋งหลวง (2) หลังย่อมตั้งอยู่ตรงมุม อยู่ไม่ไกลจากพระเจดีย์ (3) หันหน้าไปทางเดียวกับวิหาร (1)
.jpg)
เก็บภาพมาฝากเพื่อน ๆ แล้วดังนี้...
ที่แตกต่างคือ...ไม่มีบันไดนาคหรือมกรคายนาคเหมือนที่เห็นเป็นส่วนใหญ่ แต่มีตัวอะไรไม่รู้ทอดตัวอยู่บนราวบันได!! เข้าใจว่าเป็น "ตัวมอมคอยาว" (หากผิดก็ต้องขออภัย)


วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวว่า...
มอม เป็นสัตว์ในจินตนาการ รูปร่างคล้ายราชสีห์ มักปรากฏอยู่ในลักษณะของงานประติมากรรมประดับตามวัดทางภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะวัดในจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะรูปร่างคล้ายราชสีห์ ในทางศิลปะล้านนาช่างปั้นบางครั้งก็ปั้นให้ดูคล้ายตุ๊กแก กิ้งก่า หรือค่าง ลักษณะของศิลปะนั้นได้รับอิทธิพลจากจีน ส่วนในศิลปะลาวและอีสานนั้นเชื่อว่า มอมเป็นสิงห์จำพวกหนึ่ง ช่างนิยมปั้นให้มีลักษณะคล้ายสิงห์ลำตัวยาวประดับราวบันได หรือปั้นคล้ายสุนัขขนาดใหญ่มีแผงคอและแผงหลัง....
เว็บศิลปวัฒนธรรมอธิบายว่า...
“ตัวมอม” สัตว์หิมพานต์ ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่น มักปรากฏคู่กับวัดและวิถีชีวิต “ล้านนา” ตัวมอมเป็นสัตว์ในจินตนาการที่ช่างหรือสล่าล้านนาใช้เรียกสัตว์ในอุดมคติที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง ปรากฏอยู่เฉพาะในคติความเชื่อของชาวบ้านและงานศิลปกรรมล้านนา กล่าวคือ มักปรากฏอยู่ในลักษณะของงานประติมากรรมประดับตามวัดทางภาคเหนือตอนบนเท่านั้น โดยเฉพาะวัดในจังหวัดเชียงใหม่ที่อดีตเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา
ตัวมอมมีลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์หลายชนิดผสมกัน ทั้ง สุนัข แมว ตุ๊กแก กิ้งก่า ลิง เสือ ฯลฯ มีแขนยาว ลำตัวยาวยืดคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน มีใบหู และสีตัวจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฝีมือของช่าง ในงานประติมากรรมของชาวล้านนาจะปรากฏรูปตัวมอมประดับอยู่บริเวณราวบันได....

ช่อฟ้าใบระกาหางหงส์แลหน้าบันงดงามด้วยลวดลายวิจิตรโดยฝีมือสะหล่าล้านนา...


ด้านหลังผนังทึบเรียบง่าย...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น